เมนู

นั่นแล นาแปลงที่ 3 นั้นนั่นแหละ ย่อมแสดงการให้เกิดความอุตสาหะของ
เขาในนา 2 แปลง นอกนี้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุแม้ละการ
งานที่เหลือมีการล้างหน้าเป็นต้นแล้ว พึงทำกรรมในที่นี้โดยแท้ การไม่ทำหา
ควรไม่ เมื่อทำจึงถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ ฉะนี้แล. ชื่อว่ามัชฌิมา-
ปฏิปทา
ท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงป้องกันความฟุ้งซ่านได้. เพราะว่า เมื่อ
สละกรรมฐาน จิตก็จะถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน
ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัย เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่ง (พ่อค้า) ยังบุคคล
ให้ชำระหนี้พันหนึ่ง ได้กำไรแล้วเดินทางมา ในระหว่างทางก้าวขึ้นสะพาน
ท่อนไม้อันเดินได้คนเดียวที่พาดข้ามลำธารซอกเขาอันลึกมีจระเข้ มังกร และ
รากษส (ผีเสื้อน้ำ) เขาเดินปล่อยเท้าก้าวไป เพราะแลดุข้างโน้นข้างนี้ เลย
พลัดตกลงไปเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้ ก็เหมือนกัน
นั่นแหละ ครั้นเมื่อจิตของตนสละกรรมฐานถึงความฟุ้งไปในภายนอก ย่อม
เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมา ดังนี้


ก็กาลที่ภิกษุนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของอาจารย์ เปรียบเหมือน
กาลทีบุรุษยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้ว. สังสารวัฏ เปรียบเหมือน
ซอกเขาอันลึกในระหว่างทาง. ทุกข์ใหญ่มีวัฏฏะเป็นมูล เปรียบเหมือน กาล
ที่บุรุษนั้นถูกจระเข้เป็นต้นเห็นแล้ว. วิถีแห่งการสาธยายของภิกษุนี้ เปรียบ
เหมือน สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว. พึงทราบว่า ความที่ภิกษุนี้ สละ
กรรมฐาน มีจิตฟุ้งไปในภายนอก เสื่อมจากกรรมฐาน ไม่สามารถก้าวล่วง